วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์จะแบ่งเป็น 4 ส่วนด้วยกัน
1. ส่วนรับข้อมูล (Input)
ทำหน้าที่รับข้อมูลโดยอาจรับข้อมูลจากแป้นพิมพ์ เมาส์ หรือเครื่องแสกนเนอร์ หน้าจอ แบบสัมผัส

2. ส่วนประมวลผล (CPU:Central Processing Unit)
เมื่อรับข้อมูลเข้ามาแล้ว ส่วน CPU จะทำหน้าที่เป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ในการคิดคำนวณ หรือประมวลผลเพื่อทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ

3. ส่วนหน่วยความจำ (Memory)
ในการคิดคำนวณของ CPU นั้น จะไปกระทำที่หน่วยความจำของเครื่อง

4. ส่วนแสดงผล (Output)
เมื่อคิดคำนวณได้ผลลัพธ์ออกมาแล้วก็จะส่งผลมาแสดงที่ส่วนแสดงผล เช่น แสดงทางจอภาพ เครื่องพิมพ์หรือส่งไปทางโมเด็ม

ความชื้นทำให้คอมพิวเตอร์ไม่ทำงาน

บทความแนะนำวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นด้วยตัวเอง กรณีคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คไม่ทำงาน เพราะความชื้นทำให้แรม การ์ดจอ หรือการ์ดอื่นๆ ที่ติดตั้งลงบนเมนบอร์ดมีปัญหา เครื่องมองไม่เห็น เปิดเครื่องไม่ได้ เป็น อาการที่เจอกับเครื่องมือสองจากญี่ปุ่นทั้ง 3 เครื่องเลย ที่ผมใช้งานอยู่
 การแก้ปัญหาในโน้ตบุ๊ค
สำหรับโน้ตบุ๊คจะมีแรมที่เป็นส่วนประกอบที่ต้องเสียบหรือต่อเพิ่มลงไปในเมนบอร์ด จากการใช้งานเครื่องรุ่นนี้ มีปัญหาบ่อยมาก เพราะความชื้นทำให้มองไม่เห็นแรม เปิดเครื่องแล้วเงียบไม่มีอะไรบนหน้าจอ เวลาเอา ไปซ่อม ก็ไม่พบอาการผิดปกติแต่อย่างใด และทุกครั้งที่เอาเข้าไปที่เซียร์ พ่อประคุณทูลหัว ก็จะหายเป็นปกติ เสียค่าน้ำมันและค่าซ่อมรวมๆ ไปหลายลัง
ตอนนี้ก็ลองแก้ไขง่ายๆ ด้วยการเอาน้ำยาไล่ความชื้นอย่างโซแนก ฉีดเข้าไปไม่ต้องมากนะครับ แล้วเปิดพัดลมเป่าให้แห้ง ก็สามารถเปิดเครื่องได้ตามปกติ
การแก้ปัญหาในคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ
กรณีคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะก็เช่นเดียวกัน แต่จะให้ดีควรหาตัวดูดความชื้นมาไว้ในเคสเลยจะดีกว่า ป้องกันไว้ก่อน สำหรับคอมพิวเตอร์แบบนี้ นอกจากแรมแล้วก็จะมีการ์ดจอหรือการ์ดอื่นๆ ก็จัดการฉีดบางๆ ไล่ ความชื้นได้เช่นเดียวกัน
การทำความสะอาดหน้าสัมผัสการ์ดจอหรือแรมด้วยยางลบ
การแก้ปัญหาแบบเดิมๆ ที่เคยใช้ด้วยการเอายางลบมาลบคราบสกปรก ที่ตัวหน้าสัมผัสการ์ดจอหรือแรม เดี๋ยวนี้กลับใช้ไม่ได้ผล เหมือนกับว่า อาการป่วยของมัน เชื้อมีการพัฒนาตนเอง ฮา แต่ทั้งนี้ถ้าไม่มีตัวฉีดไล่ ความชี้นก็ลองใช้วิธีนี้แก้ขัดก่อนก็ได้

เลือกใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมเพื่อประหยัดค่าไฟ

ปกติจะใช้โน้ตบุ๊คทำงาน พักหลังๆ เปลี่ยนมาใช้คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ผลที่เห็นชัดเมื่อสิ้นเดือนก็คือ ค่าไฟเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว การเลือกคอมพิวเตอร์มาใช้งาน หากเลือกไม่เหมาะสม ค่าไฟบานปลายแน่นอน เพราะหลายบ้าน เป็นครอบครัวใหญ่ มีคอมพิวเตอร์คนละเครื่อง ค่าไฟจึงไม่ต้องพูดถึง หากใช้งานคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะกันคนละเครื่อง

หากเลือกใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงานหรือความจำเป็นที่ต้องใช้งานจริงๆ แล้วก็จะช่วยได้มากเลยทีเดียว
คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะเหมาะกับงานแบบใด
คอมพิวเตอร์แบบนี้จะให้พลังการประมวลผลที่ดี ทนทาน รองรับงานหนักๆ ได้ดี แต่ต้องแลกกับค่าไฟที่มากกว่าโน้ตบุ๊คไม่น้อยกว่า 2 เท่าตัวหรือมากกว่า ตรงนี้ผมก็เปรียบเทียบกับการใช้งานจริงๆ ของตัวเอง ซึ่งนอกจากจะเสียค่าไฟมากกว่าแล้ว ยังร้อนกว่าด้วย เพราะเครื่องจะปล่อยความร้อนออกมามากกว่า ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำความเย็นเพิ่มขึ้นอีก
เราไปดูกันว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะควรจะใช้กับงานประเภทใด ตัวอย่างเช่น
1. เล่นเกม โดยเฉพาะเกม 3 มิติ จะต้องการเสป็คเครื่องค่อนข้างสูง ซึ่งตามมาด้วยค่าไฟที่เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน
2. การทำงานด้านการตัดต่อวิดีโอ ต้องใช้การประมวลผลที่เร็วเช่นกัน จึงต้องการเสป็คเครื่องค่อนข้างดี
3. การสร้างสิ่งพิมพ์ กราฟิค ในขั้นตอนการสร้างไฟล์แบบ PDf เพื่อเตรียมส่งโรงพิมพ์หรือร้านเพลทนั้นจะต้องการการประมวลผลที่ค่อนข้างเร็ว โดยเฉพาะหากเปิดร้านรับทำสิ่งพิมพ์โดยเฉพาะ ไม่อย่างนั้นอืดเป็นเรือเกลือแน่ กว่าจะแปลงเป็นไฟล์ PDf ได้แต่ละไฟล์ อย่างหนังสือคอมพิวเตอร์ที่เห็นๆ วางขายในท้องตลาด การสร้างไฟล์ PDF เพื่อนำไปทำเพลท ก่อนส่งโรงพิมพ์ บางไฟล์มีขนาดหลาย GB เคยลองสร้างด้วยโน้ตบุ๊ค ใช้เวลาร่วมชั่วโมง ในขณะที่ใช้พีซีแค่สิบกว่านาทีเท่านั้นเอง
4. งานบางอย่างไม่หนัก แต่ต้องจัดการกับบางอย่างปริมาณมากๆ เช่น การเขียนซีดี งานแบบนี้จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เป็นต้น
คอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ค
โน้ตบุ๊คใช้งานสะดวก ประหยัดไฟ และสร้างความร้อนน้อยกว่าคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ แต่เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วๆ ไป หลายคนจะมีคอมพิวเตอร์ไว้อย่างน้อยสองเครื่อง คือโน้ตบุ๊คและคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะอย่างละเครื่อง ไว้ใช้งานแยกกัน ตามประเภทของงาน ก็จะช่วยประหยัดค่าไฟได้พอสมควร
การเลือกซื้อโน้ตบุ๊คมาใช้งานนั้น นอกจากเครื่องมือสองยี่ห้อดีๆ ที่นำเข้าจากญี่ปุ่นแล้ว การเลือกเครื่องใหม่ก็ต้องดูรุ่น ดูยี่ห้อเช่นกัน แล้วไปค้นหาข้อมูลใน Google.co.th โดยพิมพ์ชื่อรุ่นและยี่ห้อ เพื่อหาข้อมูลข้อดีข้อเสีย ก่อนจะเลือกมาใช้งานจริง

การซื้อคอมพิวเตอร์หรือโนัตบุ๊คมือสองไว้ใช้งาน

 ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ราคาไม่แพงมาก แต่สำหรับคนที่งบน้อยจริงๆ ก็ยังพอจะมีทางเลือกในการซื้อหาคอมพิวเตอร์มือสองราคาประหยัดไว้ใช้งาน โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์มือสองจากญี่ปุ่น ซึ่งมีการนำเข้ามาทำตลาดมากพอสมควรในบ้านเรา

คอมพิวเตอร์มือสองเหล่านี้คุณภาพในการผลิตค่อนข้างดี เมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ที่เราสั่งประกอบ เพราะได้รับการตรวจสอบคุณภาพอย่างดี การออกแบบดีกว่า ทนทานกว่า หลายเครื่องเป็นเครื่องโชว์ไม่ได้ใช้งานหนักมากนัก
ตัวอย่าง Fujitsu รุ่น FMV-B8200 เครื่องนี้ ผลิตเมื่อปี 2005 รองรับการใส่แรมได้ 2 Gb แบตเตอรี่ยังอึดได้ 3 ชั่วโมง รองรับการติดตั้ง Windows XP/7 และ 8 ล่าสุด ส่วนข้อด้อยก็คือ ต้องสำรองอุปกรณ์บางตัวไว้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เพราะใช้ขนาดเล็ก หายาก การใช้เครื่องมือสองแบบนี้ ต้องสำรองไว้เผื่อเสีย เครื่องนี้รวมราคาซื้อเมื่อสองปีที่แล้วอยู่ที่ 5500 บาท ปัจจุบัน (พ.ค 2556) จากที่เดินสำรวจในเซียร์เห็นอยู่ราคาประมาณ 3500-4000 ยังมีขายอยู่บ้าง แต่ก็หายาก
นี่แค่ยกตัวอย่างนะครับ เป็นทางเลือกสำหรับคนที่ไม่มีเงินมากนัก (แต่ถ้ามีเงินมากๆ ก็มองข้ามไปเลย) แต่อยากได้โน้ตบุ๊คที่ไว้ใจได้ ไว้ใช้งานสักเครื่อง เพราะหากเราเน้นใช้งานทั่วๆ ไปเท่านั้น โน้ตบุ๊คมือสองดีๆ เหล่านี้ หาซื้อได้ตั้งแต่ราคาประมาณ 3000 บาทขึ้นไปเท่านั้นเอง เลือกเฉพาะยี่ห้อดีๆ อย่าง IBM, Fujitsu, Toshiba รับรองไม่เสียอารมณ์แน่นอน
นอกจากโน้ตบุ๊คมือสองแล้ว คอมพิวเตอร์มือสองก็เช่นกัน หากเน้นใช้งานธรรมดาทั่วไป ท่องเน็ต ฟังเพลง พิมพ์งาน แช็ต ก็มีคอมพิวเตอร์มือสองราคาเบาๆ ให้เลือก แนะนำให้เลือกโดยเพิ่มแรมอย่างน้อย 2 Gb ซึ่งส่วนใหญ่ที่เห็นวางขายในเซีร์ยรังสิต เสป็คเท่าที่เห็นรองรับการติดตั้ง Windows 8 ได้สบายๆ นั่นก็หมายความว่าด้วยงบประมาณที่ 5-6000 บาท รวมทุกอย่างแล้ว ได้เครื่องคุณภาพดีกว่าเครื่องประกอบแน่นอน เน้นยี่ห้อดีๆ เช่นกัน เช่น Fujitsu, Lenovo, Dell เป็นต้น

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ทำความรู้จักคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะในเรื่องการ ทำงาน กลายเป็นศาสตร์ที่ต้องเรียนรู้ เพื่อช่วยให้สามารถทำงานต่างๆ ได้สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา มากกว่าเดิม และนอกจากที่ทำงานแล้ว ที่บ้านคอมพิวเตอร์ก็ได้เป็น ส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยงานส่วนตัว ด้านต่างๆ เช่น ดูหนังฟัง เพลง ใช้อินเตอร์เน็ต ฯลฯ
คอมพิวเตอร์คืออะไร
คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์
“ อุปกรณ์อะไรก็ได้ที่สามารถรับข้อมูลเข้าไปประมวลผล แล้วได้ผลลัพธ์ออกมาตามต้องการ โดยส่วนต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นคอมพิวเตอร์จะต้องประกอบไป ด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ หน่วยรับ ข้อมูล หน่วยความจำ หน่วยประมวลผลกลาง และหน่วยแสดงผลข้อมูล ”
ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
มี 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟท์แวร์ (SoftWare)
3. บุคลากร (Peopleware)
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
เป็นอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น จอภาพ (Monitor) เมาส์ (Mouse) แป้นพิมพ์ (Keyboard) ซีพียู (CPU) พรินเตอร์ (Printer) สแกนเนอร์ (Scanner) ยูพีเอส (UPS) ซีดีรอมไดรว์ (CD-ROM DRIVE) โมเด็ม (Modem) แผ่นดิสก์ เก็ต (Disket) แรม (Ram) ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) การ์ดเสียง (Sound Card) เป็นต้น
ซอฟท์แวร์ (Software)
เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หรือเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานต่างๆ ตามที่เราต้องการ ซึ่งอาจแบ่งได้ 2 ประเภท ดัง นี้
1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System หรือ OS)
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ควบคุม การทำงานต่างๆ เช่น การแสดงผลข้อมูล การติดต่อกับผู้ใช้ โดย ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้กับ คอมพิวเตอร์ให้สามารถสื่อสารกันได้ ควบคุมและจัดสรรทรัพยากร ให้กับโปรแกรมต่างๆ โปรแกรม ประเภทนี้มักเรียกกันย่อๆ ว่าโอเอส (OS)

ตัวอย่างโปรแกรมระบบปฏิบัติการ เช่น DOS, Windows 3.1, Windows 95 OEM, Windows 95 OSR, Windows 98, Windows ME, Windows NT, Windows 2000, Windows XP, Linux, Unix เป็นต้น
2. โปรแกรมประยุกต์ (Applications)
โปรแกรมประยุกต์ เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาใช้งานเฉพาะทาง เช่น ใช้พิมพ์เอกสาร วาดภาพ ติดต่อสื่อสาร คำนวณ ฯลฯ โปรแกรมประเภทนี้มีให้เลือกใช้มาก มายเป็นหมื่นๆ โปรแกรม ผู้ใช้สามารถ สร้างขึ้นเองได้ เพื่อให้ตรงกับงานที่ทำมากที่สุด

ตัวอย่างโปรแกรมประยุกต์ เช่น Microsoft Office, PageMaker, Photoshop, Cute FTP, WinAmp, Netscape, Internet Explorer ฯลฯ
บุคลากร (Peopleware)
เป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น คนใช้ คนขาย คนสอน คนซื้อ คนสร้าง โปรแกรม คนผลิต โดยสรุปแล้วก็คือ บุคคลทุกคนที่ได้เข้ามาเกี่ยวข้อง กับคอมพิวเตอร์นั่นเอง

วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โอเอสหรือโปรแกรมระบบปฏิบัติการ

โปรแกรมระบบปฏิบัติการเชิงพาณิชย์
โอเอสที่นิยมใช้กันมากที่สุดจะเป็นของบริษัทไมโครซอฟท์ คือโปรแกรม DOS และ Windows รุ่นต่างๆ เช่น
Windows 95, Windows 98/ME และ XP (รุ่น Home Edition)
เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วๆ ไป เช่น งานในสำนักงานหรือใช้งานส่วนตัวที่บ้าน ในปัจจุบัน นิยมใช้ Windows ME และ Windows XP กันมากที่สุด ส่วน DOS, Windows 3.1/95 หรือแม้แต่ Windows 98 ก็เริ่มใช้กันน้อยมาก

ภาพหน้าจอโปรแกรม Windows ME


ภาพหน้าจอโปรแกรม DOS


ภาพหน้าจอโปรแกรม Windows XP
Windows NT, Windows 2000, XP และ Unix
เหมาะสำหรับงานที่ต้องการเสถียรภาพในการทำงานสูง ต้องการแชร์ข้อมูลหรือเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน และเป็นระบบงานขนาดใหญ่ ผู้ใช้ส่วนมากจะ เป็นผู้ที่มีความรู้เพราะเป็นระบบ ปฏิบัติการที่มีความซับซ้อนต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมาดูแล
เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ให้มีความรู้มากพอสมควร เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้คุณสามารถศึกษาโปรแกรมอื่นๆ ได้ ดียิ่งขึ้น โดยพิจารณาเครื่องที่คุณใช้ เป็นหลัก ว่าใช้ OS หรือระบบปฏิบัติการแบบใด จากนั้นให้ศึกษาให้มีความชำนาญก่อนเริ่มต้นศึกษา โปรแกรมอื่นๆ
โปรแกรมระบบปฏิบัติการที่ให้ใช้ฟรี
โปรแกรมโอเอสที่นิยมใช้กันมากที่สุด ในหน่วยงานต่างๆ จะเป็น Windows ซึ่งต้องซื้อมา ใช้งานให้ครบตามจำนวนเครื่องที่มีอยู่ มีคอมพิวเตอร์กี่เครื่องก็ต้องซื้อ โปรแกรม Windows หรือ โปรแกรมอื่นๆ เท่านั้นชุด รวมๆ แล้วแพงกว่าคอมพิวเตอร์เสียอีก แต่ถ้าใช้ฟรีโอเอส จะไม่ต้องเสีย ค่าใช้จ่ายมากขนาดนั้น แถมยังมี โปรแกรมต่างๆ ของฟรีเช่นกัน ให้เลือกใช้อีกมากมาย แต่ข้อเสียก็คือ ใช้งานยาก คนที่มีความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมเหล่านี้มีน้อยคน เกิดปัญหาขึ้นเมื่อไร จึงกลายเป็น เรื่องใหญ่ ไม่รู้จะไปถามใคร
Linux ฟรีโอเอสสุดฮิต 
ถ้าจะพูดถึงฟรีโอเอส ส่วนใหญ่ก็จะนึกถึงลินุกซ์ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เหล่าโปรแกรมเมอร์ทั่วโลก ร่วมกันพัฒนาขึ้นมา เพื่อให้เป็นโปรแกรมสำหรับมวลมนุษยชาติได้ใช้ ของฟรีที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ แม้จะ มีผู้พัฒนาหลายบริษัทโดยจัดทำในเชิงพาณิชย์ ตัวโปรแกรมฟรี แต่เน้นที่การคิดค่าบริการ ค่าใช้จ่าย กับสื่อที่ใช้บันทึกโปรแกรม คู่มือสอนวิธีใช้โปรแกรม บริการหลังการขาย
แต่ละบริษัทก็ตั้งชื่อ Linux ที่ได้พัฒนาขึ้นมาในชื่อต่างๆ เช่น Redhad, Mandrak ฯลฯ ที่ผลิต โดยคนไทย เพื่อคนไทย ก็มีลินุกซ์ทะเล (Linux Tle) สามารถดาวน์ โหลดได้ฟรี ถูกกฏหมาย สบายใจ ไม่ต้องกลัวโดนตรวจจับ เสียค่าปรับเป็นแสน โดยเฉพาะลินุกซ์ทะเล รัฐบาลน่าจะส่งเสริมให้หน่วยงาน ราชการหรือบริษัทต่างๆ ใช้งานกันให้มากๆ ช่วยลดการนำเข้าโปรแกรมจากต่างชาติได้เป็นล้าน

โอเอสที่แนะนำให้ศึกษา
อาจมีโอเอสหลายตัว แต่ที่นิยมใช้กันมากที่สุด จะเป็นของบริษัท Microsoft ก็คือ Windows ในตอนนี้ ที่ยังใช้ๆ กันอยู่ก็จะเป็น Windows รุ่น 98, ME และ XP ถ้า สามารถใช้งาน Windows เวอร์ชันใด เวอร์ชันหนึ่งได้ ก็จะสามารถใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ ในโลกนี้ได้สบาย

วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บล็อก (Blog or Weblog) คืออะไร?

บล็อก (Blog) หรือ เว็บบล็อก (Weblog) เป็นเว็บไซต์สำหรับเขียนบันทึกเล่าเรื่องราวประจำวันเพื่อสื่อสารความรู้สึกนึกคิด มุมมอง ประสบการณ์ ความรู้ และข่าวสาร ในเรื่องที่ผู้เขียนท่านหนึ่งๆ (Blogger) สนใจโดยเฉพาะ ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ทำให้บล็อกต่างกับเว็บบอร์ด และเนื่องจากความจริงใจและอิสระทางความคิดที่สื่อสารออกไป ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใน ลักษณะของบุคคลที่หนึ่ง เป็นการบ่งบอกถึงความเป็นตัวตนของผู้เขียนได้เป็นอย่างดีทีเดียว จึงทำให้บล็อคเป็นสื่อที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในนานาประเทศ
ลักษณะของเว็บไซต์ที่เป็นบล็อก สังเกตได้ง่ายๆ จากลักษณะต่างๆ ดังนี้คือ
  • มีการบันทึกเนื้อหาโดยเจ้าของบล็อกอย่างสม่ำเสมอ
  • ข้อมูลจะถูกจัดไว้อย่างเป็นระเบียบ คือรายการล่าสุดจะถูกแสดงไว้ด้านบนสุดของเว็บเพจ แล้วไล่ลำดับย้อนหลังตามวันเวลาการเขียนไปเรื่อยๆ
  • มักจะมีการลิงค์ไปหาบล็อกอื่นที่ผู้เขียนสนใจหรือได้เสนอความคิดเห็นโยงต่อจากข้อเขียนที่เขาอ้างถึง ดังนั้น นอกจากบล็อกจะใช้ในการเขียนและเผยแพร่เรื่องราวต่างๆ แล้ว ก็ยังเป็นแหล่งรวมลิงค์ที่เจ้าของบล็อกนั้นๆ ใช้เป็นฐานเพื่อเสริมต่อความรู้อยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นลิงค์ของบล็อกอื่นๆ หรือลิงค์ของเว็บไซต์ก็ตาม
  • บันทึกที่เขียนไว้ในบล็อกมักจะมีการแยกแยะเป็นกลุ่มเนื้อหาตามหัวข้อหลักๆ ที่ผู้เขียนสร้างขึ้น เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้อ่าน ที่สนใจในบันทึกที่มีความสัมพันธ์กันในใจความหลัก
  • และเมื่อผู้อ่านได้รับความรู้ต่างๆ จากผู้เขียนบล็อกแล้ว ผู้อ่านมักจะมีการเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อเป็นการต่อยอดความรู้และเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกลุ่มผู้อ่านและผู้เขียนบล็อก
บล็อกแต่ละบล็อกจะมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เช่น บล็อกที่เกี่ยวกับการจัดการความรู้ บล็อกด้านการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย บล็อกด้านการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ส เป็นต้น การสร้างจุดยืนของบล็อกเช่นนี้ และมีการเขียนที่เป็นประจำสม่ำเสมอ จะทำให้บล็อกเป็นที่น่าสนใจติดตามจากผู้อ่านมากมาย